หมอยกเคสอุทาหรณ์ วิศวกรวัย 35 แต่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 3 ลุกลาม รู้ว่าชอบกินอะไรแล้วหายสงสัย ของโปรดคนไทยทั้งนั้น
เว็บไซต์ ETtoday รายงานว่า ดร.หลิว ป๋อเหริน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและเวชศาสตร์การทำงาน ได้ทำการรักษาวิศวกรวัย 35 ปี ที่ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 3 และเกิดการแพร่กระจายไปยังตับหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยยอมรับอย่างเสียใจว่าโรคนี้อาจเกี่ยวข้องกับความชอบกินเนื้อสัตว์ของเขา
ดร.หลิว ป๋อเหริน ได้พูดถึงหัวข้อโปรตีนจากสัตว์หรือโปรตีนจากพืชดีกว่ากัน บนเพจของเขา และย้อนนึกถึงผู้ป่วยเมื่อ 10 ปีก่อน
ผู้ป่วยรายนั้นเป็นวิศวกรวัย 35 ปีที่ป่วยด้วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 3 และลุกลามไปยังตับ เมื่อมาปรึกษาเรื่องการบำบัดด้วยโภชนาการ เขายอมรับว่าเป็น “สายเนื้อ” อย่างแท้จริง ชื่นชอบทั้งสเต็กและก๋วยเตี๋ยวเนื้อ อีกทั้งยังนิยมบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เบคอนและไส้กรอก
อย่างไรก็ตาม หลังป่วยจึงเริ่มหันมากินอาหารมังสวิรัติ แพทย์เห็นว่า “อาหารเหล่านี้ล้วนมีความเชื่อมโยงกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ของเขา”
ดร.หลิว ป๋อเหริน ระบุว่า ความกังวลหลักของประชาชนเกี่ยวกับโปรตีนจากสัตว์มาจากข้อมูลในปี 2015 โดย สำนักงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งจัดให้ เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เบคอน ไส้กรอก แฮม ฮ็อตดอก และหมูแผ่น เป็น สารก่อมะเร็งระดับ 1
ส่วน เนื้อแดงที่ไม่ผ่านการแปรรูป เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อแกะ ถูกจัดอยู่ในสารก่อมะเร็งระดับ 2A ซึ่งหมายถึงมีหลักฐานชัดเจนว่าส่งผลก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง และมีแนวโน้มสูงที่จะก่อมะเร็งในมนุษย์
ทั้งนี้ การสำรวจทางระบาดวิทยาชี้ว่า การบริโภคเนื้อแดง มีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม
t
เมื่อพูดถึงสาเหตุที่ เนื้อแดง เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง ดร.หลิว ป๋อเหริน อธิบายว่า อาจเป็นผลจากสารต่างๆ ในเนื้อ เช่น ฮีโมโกลบิน, ไนโตรซามีน, โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน หรือ ฮีทเทอโรไซคลิกอะมีน โดย ธาตุเหล็กในฮีโมโกลบิน อาจทำให้เกิดการสร้าง อนุมูลอิสระ ที่สูงขึ้น ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์จนเกิดมะเร็ง
นอกจากนี้ ไขมันในเนื้อแดง หากบริโภคมากเกินไปจะกระตุ้นการหลั่ง กรดน้ำดี ซึ่งช่วยย่อยไขมัน แต่กรดน้ำดีนี้อาจถูก แบคทีเรียในลำไส้ เปลี่ยนเป็น กรดน้ำดีรอง ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ทำให้เนื้อแดงอาจก่อมะเร็งได้
ดร.หลิว ป๋อเหริน ย้ำว่า “ถ้าลดได้ก็ควรลด!” อย่างน้อยที่สุดควรหลีกเลี่ยงการบริโภค เนื้อสัตว์แปรรูป และการบริโภค เนื้อแดง ทั้งหมดในแต่ละสัปดาห์ไม่ควรเกิน 500 กรัม โดยเฉลี่ยแล้วไม่ควรกินมากเกินกว่าปริมาณเท่าฝ่ามือหนึ่งข้างต่อวัน
และยังเตือนว่า ควรกินผักอย่างน้อย 5 ชนิดต่อวัน และ ผลไม้ไม่เกิน 2 ชนิด เพราะผักมีทั้ง ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ซึ่งช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระและกระตุ้นการเคลื่อนตัวของสารคัดหลั่งในลำไส้ ทำให้ลดระยะเวลาที่สารก่อมะเร็งในเนื้อแดงสัมผัสกับเยื่อบุลำไส้ใหญ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีในลำไส้ ที่ช่วยในการเมแทบอลิซึม สารก่อมะเร็งด้วย
ทั้งนี้ ดร.หลิว ป๋อเหริน แนะนำว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังรับการเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด ควรเน้นการรับประทานไข่และเนื้อขาว เช่น เนื้อไก่ที่ไม่มีหนัง, ปลาและกุ้งจากทะเลลึกขนาดกลางถึงเล็ก พร้อมกับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วและธัญพืช
หากระดับฮีโมโกลบินและเม็ดเลือดขาวยังอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่จำเป็นต้องรับประทานเนื้อแดงแล้ว เว้นแต่หลังจากการเคมีบำบัด ฮีโมโกลบินลดต่ำกว่า 10 หรือ เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 3,000 ก็สามารถเสริมเนื้อแดงได้ “ในกรณีนี้ เนื้อแดงถือเป็นสิ่งที่จำเป็น”