สิทธิลดหย่อนภาษี 2567 คือโอกาสทองที่คุณไม่ควรพลาด ด้วยกฎหมายภาษีที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี ทำให้มีสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีมากมายที่คุณอาจยังไม่รู้จัก การวางแผนภาษีที่ดี จะช่วยให้คุณ ประหยัดภาษีได้มากกว่าที่คิด และมีเงินเหลือเก็บมากขึ้น มาเรียนรู้วิธีการนำ “สิทธิลดหย่อนภาษี” ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกันค่ะ
![สิทธิลดหย่อนภาษี 2567 ประหยัดภาษีได้มากกว่าที่คิด](https://image.tnews.co.th/uploads/images/contents/w1024/2024/12/ddeRUHnp1LZ8Bb4dh1rv.webp?x-image-process=style/lg-webp)
ค่าลดหย่อนภาษีปี 2567 มีทั้งแบบ
(1) ค่าลดหย่อน จากค่าใช้จ่าย ที่สามารถแปลงเงินที่ต้องจ่ายไปอยู่แล้วมาเป็นเงินคืนภาษี 5%-35%
(2) ค่าลดหย่อน จากสิทธิหรือสถานภาพครอบครัว ที่ยิ่งมีคนต้องดูแลมาก ก็มีแนวโน้มว่าสามารถลดหย่อนภาษีได้มากตาม และ
(3) ค่าลดหย่อน เงินออม
ค่าลดหย่อนภาษีปี 67 แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1)ค่าลดหย่อนจากค่าใช้จ่าย
2)จากสถานภาพครอบครัว และ
3)จากเงินออม/ลงทุนเพิ่มเติม นอกจากรู้เพื่อให้ใช้สิทธิครบถ้วนแล้ว ยังใช้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตนเองและครอบครัวได้อีกด้วย
ภาษีเงินได้ ที่ต้องยื่น คำนวณ และชำระเพิ่มหรือขอคืนกันอยู่ทุกปี สิ่งที่สามารถใช้ลดภาษีส่วนนี้ลงได้ คือ การใช้ค่าลดหย่อนที่มีให้มากหรือคุ้มค่าที่สุดในทุกปี ซึ่งค่าลดหย่อนที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษี 2567 นี้ได้ K WEALTH นำมาสรุปให้ทุกคนเข้าใจเพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้เหมาะสม
รวมรายการค่าลดหย่อนจากค่าใช้จ่าย 2567
หมายถึง ค่าลดหย่อนที่เกิดจากเงินที่แต่ละคนต้องจ่ายไปอยู่แล้ว โดยสามาถนำมายื่นเพื่อขอลดหย่อนภาษีได้ ดังนั้นหากใครรู้ตัวว่าต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่าลืมเช็กสิทธิเหล่านี้และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เงินที่จ่ายไปแล้ว สามารถเปลี่ยนเป็นเงินคืนภาษีกลับมาได้ 5%-35% ตามฐานภาษีตัวเอง โดยค่าลดหย่อนและเงื่อนไขการใช้สิทธิที่ว่า ได้แก่
มาตรการลดหย่อนภาษีใหม่ปี 2567
ในปี 2567 กรมสรรพากร ได้ออกมาตรการลดหย่อนภาษีใหม่หลายรายการ ดังนั้น เพื่อให้วางแผนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ มาดูกันว่ามีสิทธิประโยชน์อะไรบ้างที่น่าสนใจ
1. ค่าลดหย่อนพื้นฐาน
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าจ้างก่อสร้างอาคารเพื่ออยู่อาศัยขึ้นใหม่ จำนวน 10,000 บาท ต่อทุกจำนวน 1,000,000 บาท ที่จ่ายเป็นค่าจ้างก่อสร้างอาคารเพื่ออยู่อาศัยขึ้นใหม่ให้แก่ผู้รับจ้าง (ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) แต่รวมแล้วไม่เกิน 100,000 บาท และไม่เกินหนึ่งหลัง เฉพาะค่าจ้างตามสัญญาจ้างที่ได้กระทำขึ้น และเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 และได้เสียอากรแสตมป์โดยวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต2. ค่าลดหย่อนการออมและการลงทุน
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 300,000 บาท โดยผู้ใช้สิทธิไม่ต้องซื้อกองทุนต่อเนื่องทุกปี แต่ต้องถือไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากวันที่ซื้อ3. ค่าลดหย่อนพิเศษ
ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ Easy E-Receipt (ชื่อเดิม E-Refund) สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบกิจการขายหนังสือ (รวมถึง e-Book) และสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567-15 กุมภาพันธ์ 2567 ตามที่จ่ายจริง (รวม VAT แล้ว) แต่ไม่เกิน 50,000 บาท โดยเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ซึ่งผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่ระบุชื่อและข้อมูลของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
โดยสินค้าทุกประเภทที่ซื้อจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำมาหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ได้ ยกเว้นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ อาทิ
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าน้ำมัน และก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณ อินเทอร์เน็ต
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- ส่วนค่าซื้อหนังสือ (รวมถึง e-Book) หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ผู้ขายต้องออกใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ที่ระบุชื่อและข้อมูลของผู้ซื้อด้วยเช่นกัน และสินค้า OTOP ที่ลดหย่อนภาษีได้จะต้องเป็นสินค้าที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว และผู้ขายต้องออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตามมาตรฐานของกรมสรรพากร โดยจะเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็ได้
- ค่าท่องเที่ยวภายในประเทศ สำหรับการท่องเที่ยวเมืองรองสามารถหักค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ค่าที่พักในโรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย และค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม โดยได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567-30 พฤศจิกายน 2567
ข้อควรระวัง เกี่ยวกับการวางแผนภาษีปัจจุบัน กรมสรรพากรหันมาให้ความสำคัญกับการมุ่งสู่สังคมยุคดิจิทัล (Digitalization) โดยมุ่งเน้นการรับและเก็บข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มากที่สุด ดังนั้น สำหรับการใช้สิทธิลดหย่อนบางรายการ กรมสรรพากรกำหนดให้มีการส่งข้อมูลมายังสรรพากรในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอกนิกส์ โดยผู้มีเงินได้ไม่จำเป็นต้องเก็บเอกสารหลักฐานในรูปแบบกระดาษอีกต่อไป ดังนี้
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ให้ผู้ให้กู้นำส่งและเปิดเผยข้อมูลการจ่ายดอกเบี้ยต่อกรมสรรพากร
- เบี้ยประกันสุขภาพ เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ให้บริษัทประกันนำส่งและเปิดเผยข้อมูลการจ่ายเบี้ยประกันต่อกรมสรรพากร
- ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม RMF กองทุนรวม SSF และกองทุนรวม Thai ESG ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ให้บริษัทหลักทรัพย์นำส่งและเปิดเผยข้อมูลการจ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนต่อกรมสรรพากร