นพ.ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคเมลิออยด์ หรือโรคไข้ดิน ใน 4 จังหวัดอีสานตอนล่างพื้นที่ดูแลของเขตสุขภาพที่ 9 ว่า “ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2568 – 19 พ.ค. 2568 พบผู้ป่วยโรคไข้ดิน หรือโรคเมลิออยด์ จำนวน 147 ราย มีผู้เสียชีวิต 5 ราย
คิดเป็นอัตราป่วย 2.73 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต, จังหวัดชัยภูมิ มีผู้ป่วย 16 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1.50 ต่อประชากรแสนคน และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย ส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วย 33 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1.26 ต่อประชากรแสนคน และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยกลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดคือ กลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 55-64 ปี และ กลุ่มอายุ 45-54 ปี ตามลำดับ
ซึ่งกลุ่มอาชีพที่ป่วยมากที่สุดคือ ชาวนา และเกษตรกร เนื่องจากทำงานสัมผัสดินกับน้ำโดยตรง และโรคไข้ดิน หรือโรคเมลิออยด์ เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในดิน น้ำ นาข้าว แปลงผัก สวนยาง และบ่อน้ำ โดยเชื้อสามารถเข้าได้ทางผิวหนังโดยการสัมผัสดินและน้ำเป็นเวลานาน การกินหรือดื่มน้ำไม่สะอาด
และการหายใจเอาละอองฝุ่นดินเข้าไป ซึ่งหากป่วยได้รับเชื้อประมาณ 1-21 วันจะเริ่มมีอาการเจ็บป่วย แต่บางรายอาจนานเป็นปี ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับและภูมิต้านทานของแต่ละคน อาการของโรคนี้ไม่มีลักษณะเฉพาะ จะมีความหลากหลายคล้ายโรคติดเชื้ออื่นๆ หลายโรค ทำให้มีอาการไข้ ไอเรื้อรัง มีฝีที่ผิวหนัง ปวดท้อง ปวดข้อ และกระดูก โดยทั่วไปอาการมักปรากฏใน 2-4 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ และหากติดเชื้อในกระแสเลือด แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มีโอกาสเสียชีวิตได้ใน 1-3 วัน
ดังนั้น เกษตรกร และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม หรือผู้ที่ทำงานสัมผัสดินและน้ำโดยตรง ไม่ควรเดินลุยน้ำด้วยเท้าเปล่า หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน แต่หากจำเป็นต้องทำงานสัมผัสกับดินและน้ำที่เปียกชื้นเป็นเวลานาน หรือมีบาดแผลขีดข่วน ควรสวมรองเท้าบูท สวมถุงมือยาง และกางเกงขายาว เพื่อป้องกัน เมื่อเสร็จภารกิจให้รีบอาบน้ำชำระร่างกายด้วยสบู่และน้ำสะอาดทันที และหากมีไข้สูงติดต่อกันเกิน 5 วัน ควรรีบพบแพทย์ จะได้ตรวจวินิจฉัยและรักษาทันทีตามอาการและความรุนแรงของโรค สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422
เมื่อแยกเป็นรายจังหวัด พบว่า จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 61 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 3.91 ต่อประชากรแสนคน และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย รองลงมา คือ จังหวัดสุรินทร์ มีผู้ป่วย 37 ราย